วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิธีสอนแบบเกมจำลองสถานการณ์ (Simulation gaming)

การสอนแบบเกมจำลองสถานการณ์ (Simulation Gaming) 

โดย : สุทิน  ณ สุวรรณ





ความหมาย 

         สถานการณ์จำลอง (Simulation) หมายถึง สถานการณ์หรือกระบวนการจริงเพียงบางส่วน ที่นำมาดัดแปลงจากความเป็นนามธรรม ทำให้ง่ายยิ่งขึ้น โดยปกติผู้ร่วมแสดงในสถานการณ์จำลองจะแสดงบทบาทในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น หรือสิ่งแวดล้อมที่จำลองขึ้น
             เกม (Game) หมายถึง การละเล่นชนิดหนึ่งซึ่งอาจทำให้หลายๆ คนเกิดความไม่แน่ใจที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน ส่วนนักจิตวิทยาทั้งหลายต่างเชื่อว่า เกมหรือการละเล่นจะช่วยให้มนุษย์เกิดความรู้ และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ขึ้นได้ และการละเล่นจะช่วยพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ขึ้น เพราะส่วนหนึ่งของชีวิตขึ้นอยู่กับการละเล่นด้วย ในสังคมของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ ได้ใช้การละเล่นในการสอนทักษะเพื่อความอยู่รอด สรุปว่า การละเล่นจัดเป็นกลไกสำคัญ ในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
        เกมจำลองสถานการณ์ (Simulation Games) หมายถึงการผสมผสานระหว่างการแสดงบทบาทเข้ากับเกมซึ่งมีกฎเฉพาะ และอาจคล้ายคลึงกับความเป็นจริงมากหรือน้อยแล้วแต่สถานการณ์ และอาจมีการแข่งขันรวมอยู่ด้วย หรือไม่ก็ได้
             เกมจำลองสถานการณ์ คือ วิธีสอนที่ผู้สอนนำเอาสถานการณ์จริงมาจำลองไว้ในห้องเรียนพยายามให้มีสภาพเหมือนจริงมากที่สุด และกำหนดกติกา กฎ หรือเงื่อนไขสำหรับเกมนั้น แล้วแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มๆ เข้าไปแข่งขันหรือเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ผู้เรียนจะต้องเผชิญกับปัญหาและต้องแข่งขันกับฝ่ายตรงข้ามจึงต้องมีการตัดสินใจของกลุ่มเพื่อมุ่งเอาชนะกัน

               การสอนแบบเกมจำลองสถานการณ์ (Simulation Gaming) เป็นวิธีสอนที่พัฒนามาจากการแสดง
บทบาทสมมติ การเล่นเกม และการจำลองสถานการณ์

 การจัดกิจกรรมการสอนโดยใช้เกม      

การออกแบบเกม/สถานการณ์จำลอง
1.       เลือกเนื้อหาและกำหนดขอบเขตของกิจกรรม
2.       กำหนดกลุ่มผู้เรียน
3.       กำหนดจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและมีเจตคติที่ดี
4.       พัฒนารูปแบบเกมและสถานการณ์จำลอง ซึ่งสามารถพัฒนาได้ ดังนี้
4.1 สร้างฉากการแสดง (สำหรับสถานการณ์จำลอง)
4.2 อธิบายบทบาทการแสดง
4.3 สร้างแรงจูงใจ
4.4 อธิบายข้อจำกัดและแหล่งข้อมูล
4.5 กำหนดกิจกรรม
4.6 กำหนดผลที่จะเกิดขึ้น
5.       การพัฒนากฏเกณฑ์
5.1 ขั้นตอนการแสดง
5.2 การให้คะแนน
6.        การพัฒนากิจกรรมและสื่อต้นแบบ
6.1 สื่อสำหรับผู้แสดง
6.2 คูมือครูและผู้กำกับ
6.3 คู่มือแนะนำอื่นๆ

วิดิโอ วิธีสอนการใช้สถานการณ์แบบจำลอง 



วิธีสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน ((Project Based Learning)

วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)



วิธีสอนแบบกรณีศึกษา (Case Based Learning)

วิธีสอนโดยใช้กรณีศึกษา (Case Study Method)

โดย : สุทิน  ณ สุวรรณ

แนวคิด
               การสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นวิธีสอนที่ใช้กรณีหรือเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงมาดัดแปลงเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ทำให้ผู้เรียนได้รู้จักวิธีการคิด วิธีการนำข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณาในการตัดสินเรื่องหนึ่งเรื่องใด
ลักษณะสำคัญ
               การเรียนการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง เป็นการวิเคราะห์ถามตอบโดยการตั้งประเด็นคำถามกรณีที่ยกมาเป็นตัวอย่างคือกิจกรรมที่รวบเอาการบรรยาย การอภิปราย การโต้วาที และบทบาทสมมุติเข้ามาไว้ในกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมด
วัตถุประสงค์
      1) เพื่อเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
      2) เพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
      3) เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักคิดอย่างเป็นระบบ
      4) เพื่อฝึกให้ผู้เรียนรู้จักรับฟังและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
ลักษณะห้องเรียน
               หากเป็นการศึกษากรณีเดียวโดยทุกคนทำพร้อมกันก็จัดชั้นเรียนในลักษณะปกติ แต่ถ้าต้องการแบ่งกลุ่มเพื่อศึกษากรณีรายบุคคลแตกต่างกันก็ต้องจัดชั้นเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ตามจำนวนกลุ่มที่แบ่ง
  บทบาทผู้สอน
     1) ผู้สอนเป็นผู้เตรียมกรณีตัวอย่างจากข้อมูลข่าวสาร สื่อ เรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ
     2) ผู้สอนเป็นผู้นำเสนอกรณีให้ผู้เรียนได้ทราบหรืออาจจะมอบให้ผู้เรียนเป็นการสมมุติขึ้นก็ได้
     3) ผู้สอนต้องตั้งคำถามยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงกรณีตัวอย่างนั้นกับเรื่องราวอื่น ๆ
     4) ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเรื่องราวของกรณีตัวอย่างนั้น
     5) ผู้สอนให้ผู้เรียนสรุปแนวคิดที่ได้จากกรณีตัวอย่าง
 บทบาทผู้เรียน
 
   1)  นำเสนอกรณีตัวอย่าง
    2)  ช่วยกันอภิปราย วิเคราะห์
    3)  ช่วยกันสรุปแนวคิดที่ได้
    4)  นำผลที่ได้ไปใช้เชื่อมโยงกับวิชาอื่น ๆ ต่อไป
สื่อการสอนเมื่อสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง
               ในการนำเสนอกรณีตัวอย่างจะใช้สื่อหลากหลายรูปแบบ เช่น วีดิทัศน์ หนังสือพิมพ์ รูปภาพ กราฟฟิก หรือบทบาทสมมุติ ฯลฯ
ข้อดีและข้อจำกัด
 ข้อดี
       1)  ทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
       2)  ผู้เรียนได้เกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์
       3)  ผู้เรียนได้รู้จักวิธีแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
       4)  ทำให้ผู้เรียนได้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
       5)  ทำให้ผู้เรียนได้รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  ข้อจำกัด
       1) หากใช้กับกลุ่มผู้เรียนมากเกินไป ผู้เรียนก็จะแสดงออกไม่ทั่วถึง
       2) หากผู้สอนขาดทักษะในการตั้งคำถามกระตุ้น บรรยากาศของการเรียนรู้ก็เกิดได้ยาก
       3) ถ้าผู้เรียนไม่ร่วมมือ ไม่กระตือรือร้นก็จะทำให้ผลการเรียนไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้


วิธีสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)

วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)

วิธีสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)


โดย : สุทิน  ณ สุวรรณ

ความหมาย
          “การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning) หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้สถานการณ์ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้เพื่อนำมาแก้ปัญหานั้น
          ลักษณะที่สำคัญของการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก 
1.    ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered learning)
2.    การเรียนรู้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เรียนที่มีขนาดเล็ก
3.    ครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ  (guide)
4.    ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
5.    ปัญหาที่นำมาใช้มีลักษณะคลุมเครือไม่ชัดเจน   ปัญหา 1 ปัญหาอาจมีคำตอบได้หลายคำตอบหรือมีทางแก้ไขปัญหาได้หลายทาง (ill- structured problem)
6.    ผู้เรียนเป็นคนแก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง  (self-directed learning)
7.    ประเมินผลจากสถานการณ์จริง โดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติ  (authentic assessment)
              กระบวนการของการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก
          Bridges (1992) ได้จำแนกการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักที่นำไปใช้ในห้องเรียนออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบเน้นปัญหา (problem-stimulated PBL) และแบบเน้นผู้เรียน (Student Centered PBL)
          1. การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักที่เน้นปัญหา (Problem-stimulated PBL) รูปแบบนี้จะใช้บทบาทของปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะแนะนำและเรียนรู้ความรู้ใหม่ การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักที่เน้นปัญหานี้ให้ความสำคัญกับเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ 1) การพัฒนาทักษะเฉพาะเจาะจง  (domain-specific skills) 2) การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา (problem-solving skills) และ 3) การได้มาซึ่งความรู้เฉพาะเจาะจง (domain-specific knowledge) โดยประกอบด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
1.1    ผู้เรียนได้รับทรัพยากรการเรียนรู้ ดังนี้
1.1.1    ปัญหา
1.1.2    วัตถุประสงค์ที่ผู้เรียนคาดหวังว่าจะได้รับขณะปฏิบัติการแก้ปัญหา
1.1.3    รายการอ้างอิงของทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์พื้นฐาน
1.1.4    คำถามที่เน้นมโนทัศน์ที่สำคัญและการประยุกต์ใช้ฐานความรู้
1.2    ผู้เรียนร่วมกันทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ สามารถแก้ปัญหา และทำให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้
1.2.1    ผู้เรียนแต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ต่างๆ กันในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นบทบาทผู้นำ ผู้ช่วยเหลือ ผู้บันทึก และสมาชิกกลุ่ม
1.2.2    จัดสรรเวลาที่ชัดเจนในแต่ละช่วงของโครงการ
1.2.3    จัดตารางกิจกรรมการปฏิบัติงานของทีมและวางแผนให้เป็นไปตามเวลาที่กำหนด
1.3    ความสามารถของผู้เรียนถูกวัดโดยผู้สอน เพื่อนร่วมชั้น และตัวผู้เรียนเองโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต และวิธีการประเมินอื่นๆ กระบวนการทั้งหมด ผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนแก่กลุ่ม และให้คำแนะนำ รวมทั้งกำหนดทิศทางถ้ากลุ่มร้องขอหรือเกิดปัญหาอุปสรรคในการทำงาน

วิธีสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL)





วิธีสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)

วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)

วิธีสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning )

วิธีสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based  Learning : PBL )
โดย : สุทิน  ณ สุวรรณ   


ความหมาย ของ  PBL

                 เมื่อดูจากรูปคำศัพท์  Problem – based Learning  คำว่า  Problem  แปลว่า ปัญหา  based  แปลว่า  ฐาน  พื้นฐาน Learning แปลว่า การเรียนรู้ Problem – based Learning  หรือ PBL  ก็คือ วิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่ง  ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ โดยการนำปัญหามาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้     
                การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก  เป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้    เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา   รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษา ไปพร้อมกันด้วย     การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก 
ถ้ามองในแง่ของ ยุทธศาสตร์การสอน    PBL เป็นเทคนิคการสอน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง    จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดหลายรูปแบบ เช่น การคิดวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

ลักษณะทั่วไปของ การเรียนรู้แบบ PBL
                รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบ การใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ  PBL  พอจะกล่าวได้ดังนี้
                1. ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered learning)
                2. จัดกลุ่มผู้เรียนให้มีขนาดเล็ก (ประมาณ 3  5  คน)
                3. ครูทำหน้าที่ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)   หรือผู้ให้คำแนะนำ  (guide)
                4.ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น (สิ่งเร้า)ให้เกิดการเรียนรู้
                5. ลักษณะของปัญหาที่นำมาใช้ ต้องมีลักษณะคลุมเครือ  ไม่ชัดเจน   มีวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างหลากหลาย  อาจมีคำตอบได้หลายคำตอบ
                6. ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (self-directed learning) 
                7.การประเมินผล  ใช้การประเมินผลจากสถานการณ์จริง(authentic assessment)  ดูจากความสามารถในการปฏิบัติ ของผู้เรียน

                   การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  เป็นกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐาน  สาเหตุและกลไกของการเกิดปัญหานั้น  ค้นคว้าความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เพื่อจะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่อไป  โดยผู้เรียนอาจจะไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ มาก่อน แต่อาจใช้ความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่เดิมหรือเคยเรียนมา  วิธีการเรียนรู้ตามแนวทางที่มีลักษณะที่สำคัญ คือ
1.       เรียนรู้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องของปัญหานั้นๆ เน้นกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ
2.       เนื้อหาวิชาจะเป็นลักษณะของการบูรณาการ (Integration) โดยผสมผสานเนื้อหาของหลายๆ วิชาเข้าด้วยกัน
3.       เรียนเป็นกลุ่มย่อย โดยมีอาจารย์ประจำกลุ่ม (Facilitator) เป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้นนักเรียนต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในกลุ่ม
4.       การเรียนรู้และค้นคว้าหาความรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตนเองหรือกลุ่มตั้งไว้ (self-directed  learning)

ขั้นตอนของการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
                Step 1    อธิบายคำศัพท์หรือข้อความที่ไม่เข้าใจ  ทำความเข้าใจกับศัพท์หรือความหมายต่างๆ  ของคำจากปัญหาที่ให้ นักเรียนต้องพยายามหาคำตอบให้ชัดเจนโดยอาศัยความรู้พื้นฐานของสมาชิกในกลุ่ม หรือจากเอกสารตำราต่างๆ
                Step 2    อธิบายว่าเป็นปัญหาอะไร จับประเด็นข้อมูลที่สำคัญหรือปัญหาให้ถูกต้อง
                Step 3    ระดมสมอง ( Brain storm) โดยพยายามตอบคำถามหรือสาเหตุที่มาของปัญหาที่อธิบายไว้ใน  Step  2  ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
                Step 4    วิเคราะห์ปัญหา (Analysing  the  problem) พยายามหาเหตุผลที่จะอธิบายปัญหาหรือข้อมูลที่พบ  พร้อมกับตั้งสมมติฐานที่เป็นไปได้  ในการอธิบายหรือหาสาเหตุที่มาของปัญหานั้นๆ โดยลองพยายามใช้ความรู้เดิมที่นักเรียนมีอยู่หรือเคยเรียนมาแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล จัดลำดับความสำคัญของสมมติฐาน
                Step 5    กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้/สร้างประเด็นการเรียนรู้ เพื่อค้นคว้าข้อมูลที่อธิบายหรือพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้
                Step 6    ค้นคว้าหาความรู้หรือข้อมูลด้วยตนเอง พร้อมทั้งประเมินความถูกต้องโดยอาศัยสื่อการเรียนรู้ต่างๆ
                 Step 7    รายงานผลการศึกษาต่อกลุ่ม (Reporting) นำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์ อธิบายแก้ไขสมมติฐานที่ตั้งไว้ สรุปเป็นข้อสรุปและหลักการที่ได้จากการศึกษาปัญหา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อย
การเรียนการสอนแบบ  PBL  เป็นการเรียนการสอนอีกรูปแบบใหม่ที่ครูสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน


สรุป
การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียน เนื่องจากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มากกว่าการรับฟังเนื้อหาจากครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว สิ่งสำคัญก็คือสถานการณ์ปัญหาหลักหรือกรณีศึกษาที่นำมาใช้เป็นแรงกระตุ้นและผลักดันให้ผู้เรียนนำความรู้ หรือประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมมาใช้แก้ปัญหา ดังนั้นลักษณะของปัญหาต้องมีความน่าสนใจ ท้าทายและน่าค้นหาคำตอบ รวมทั้งควรเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้เรียน เพื่อผู้เรียนจะได้แสดงความสามารถในการแก้ปัญหาโดยการระบุประเด็น โครงสร้าง และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในเนื้อหาวิชาที่เป็นการบูรณาการ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา การใช้เหตุผลในการคิดวิเคราะห์ และตัดสินใจ  อีกทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการเรียน โดยการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียน รู้วิธีการแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ รวบรวมความรู้และนำมาสรุปเป็นความรู้ใหม่ เป็นลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นทักษะการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอภิปราย มีวิธีการแสวงหาความรู้และไตร่ตรองทรัพยากรการเรียน ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความหมายสำคัญ ช่วยให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ซึ่งการเรียนเป็นกลุ่มย่อยทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนแนวคิดกับผู้อื่นทำให้มีความรู้กว้างขวางมากขึ้น นับเป็นการพัฒนาทักษะทางสังคมให้เกิดกับผู้เรียน
อย่างไรก็ตาม การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก มีข้อจำกัด คือ เป็นการเรียนที่เหมาะสำหรับสายวิชาชีพซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับทุกรายวิชา และในการนำมาใช้ต้องมีการวางแผนและเตรียมการเป็นอย่างดี ผู้สอนจะต้องมีทักษะในการเป็นผู้สอนประจำกลุ่ม ผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองและให้ความร่วมมือในการเรียนร่วมกัน เป็นห้องเรียนที่เปิดกว้าง และมีแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนศึกษาได้อย่างอิสระ

วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)

วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)
โดย : สุทิน  ณ สุวรรณ 

ความหมาย   

              การบรรยาย คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
ที่ กำหนด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระ แล้วบรรยาย คือ พูด บอก เล่า อธิบายเนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนซักถามแล้วประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการอย่างใด อย่างหนึ่ง
               การ บรรยายเป็นวิธีถ่ายทอดความรู้ที่ใช้กันมานานในการเรียนการสอน   เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก สามารถสอนหรือบรรยายให้ผู้ฟังได้ทีละมากๆ โดยทั่วไปจะใช้ในกรณีที่ต้องการนำเสนอความรู้ครั้งละมากๆ โดยใช้เวลาไม่มากนักจึงจัดเป็นวิธีสอนที่ประหยัดเวลาในการเรียนการสอนได้ เป็นอย่างดี วิธีนี้จะเหมาะสมมากหากผู้บรรยายมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีความรู้ในเนื้อหานั้นเป็นพิเศษ และต้องการให้ผู้ฟังได้คำอธิบายขยายความ หรือแนวคิดที่แปลกใหม่เป็นข้อมูลที่หาอ่านจากเอกสารทั่วไปไม่ได้ 

ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบบรรยาย

         1. เป็นการสอนที่เน้นเนื้อหาสาระที่นำเสนอโดยครูผู้สอน ผู้บรรยายจะเสนอปัญหาวิธีการ
ต่างๆในการแก้ปัญหา และสรุปด้วยว่าวิธีการใดเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดตามหลักการ
         2. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้หลายๆแนวคิดก่อนที่จะสรุปเป็นข้อคิดหรือทางเลือกที่เหมาะสม

วีดิโอการสอนแบบบรรยาย
วัตถุประสงค์
        1. เพื่อผู้เรียนที่มีจำนวนมากได้เรียนเนื้อหาสาระความรู้ที่มีจำนวนมากในเวลาที่จำกัด
        2. เพื่อให้ความรู้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียนซึ่งค้นหายากหรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง
        3. เพื่อช่วยนำทางในการศึกษาด้วยตนเอง
        4. เพื่อช่วยสรุปประเด็นสำคัญ  
องค์ประกอบของการสอน
         1. มีเนื้อหาสาระ หรือ ข้อความรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
         2. มีการบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย)
         3. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจาการบรรยาย


วิธีการในการบรรยายอาจแบ่งแยกได้เป็น 3 รูปแบบตามลักษณะของการเสนอเรื่องดังนี้
       1. การบรรยายที่เป็นลักษณะของการเน้นปัญหา
       ผู้บรรยายจะเริ่มต้นด้วยการเสนอปัญหาแล้วแนะแนวทางหรือเสนอวิธีการแก้ปัญหาและปิดท้ายด้วยวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดเป็นการสรุป
       2. การบรรยายที่เป็นลักษณะของการให้ข้อคิดเห็น ผู้บรรยายจะเสนอข้อคิดหรือความคิดเห็นหลายๆ แนวทาง
       เพื่อให้ผู้ฟังได้เห็นแล้วปิดท้ายด้วยวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดเป็นการสรุปข้อคิดหรือความคิดเห็นและแนวทางที่เหมาะสม
       3. การบรรยายในลักษณะที่เน้นการเสนอเนื้อหาความรู้ เป็นการบรรยายในชั้นเรียนทั่วไป
       วิธีสอนแบบนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนระดับอุดมศึกษา หรือมัธยมศึกษาไม่เหมาะสมสำหรับนักเรียนระดับประถม

การบรรยาย

VDO วิธีสอนแบบบรรยาย ใช้ตัวอย่างประกอบ